แบบฝึกหัดทดสอบระดับ 12-8 คิว

แบบฝึกหัดทดสอบระดับ 12-8 คิว

โดยชมรมครูหมากล้อมแห่งประเทศไทย

จัดทำในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อการเผยแพร่ 

บทที่ 1 - 5

เกี่ยวกับลมหายใจและการจับกิน

สำหรับผู้หัดเล่นหมากล้อม ลมหายใจเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อที่จะเอาตัวรอดและเห็นโอกาสจับกิน

บทที่ 6 - 8

เกี่ยวกับการตัด, การเชื่อม และข้อต่อรอง (โคะ)

เราเชื่อมหมากเพื่อช่วยให้กลุ่มหมากแข็งแรง และตัดหมากก็เพื่อให้อีกฝ่ายอ่อนแอลง หากเราแข็งแรงก็ไม่มีความจำเป็นต้องเชื่อม หากเขาแข็งแรงก็ไม่จำเป็นต้องตัด สำหรับในข้อต่อรองก็เช่นกัน พยายามไล่เรียงระดับความสำคัญให้ดี เช่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มหรือการลดพื้นที่

บทที่ 9 - 13

เกี่ยวกับจุดห้ามวาง, ห้องจริง-ห้องปลอม และการสร้างสองห้อง

การสร้างสองห้องจริงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการถูกจับกินกลุ่มใหญ่ง่าย ๆ อาจหมายถึงความพ่ายแพ้ ดังนั้นต้องรู้จักการเดินสร้างห้องจริง และรู้ว่าเมื่อไหร่ควรทิ้งหรือสละหมาก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับฝีมือของนักหมากล้อม

บทที่ 14 - 18

เกี่ยวกับการเปิดเกม, การปิดเกม และพื้นที่

การเปิดเกมเป็นช่วงที่ยากที่สุด เพราะจำนวนหมากยิ่งน้อยยิ่งหมายความว่ามีทางเลือกมาก ในขณะที่การเริ่มต้นไม่ดีส่งผลกระทบตลอดทั้งเกม ส่วนช่วงปิดเกมเป็นช่วงตีกรอบสร้างขอบเขตพื้นที่จึงเป็นช่วงของการคำนวณ เพื่อวางหมากที่มีคุณค่ามากที่สุดบนกระดานไปจนจบเกม

บทที่ 19 - 20

เกี่ยวกับสองทางเลือก (มิอาย) และ มือนำ - มือตาม

สองทางเลือกหรืออีกคำพูดหนึ่งที่คล้ายกันคือ ทางออกสองทาง เป็นการเตรียมแผนสำรองเอาไว้เสมอสำหรับกลุ่มหมากที่มีความสำคัญ ส่วนมือนำคือโอกาสที่จะได้ริเริ่มก่อการใด ๆ ได้ก่อนอีกครั้ง ในทางตรงกันข้ามมือตามย่อมเสียโอกาสให้กับอีกฝ่ายริเริ่มก่อน อย่างไรก็ตามหากมือตามมีค่ามากกว่า 2 เท่าขึ้นไปก็มีค่าควรเล่นเช่นกัน

การได้มือนำส่วนหนึ่งมาจากการทิ้งหรือสละหมากด้วย เพื่อริเริ่มดำเนินการในตำแหน่งใหม่ที่สร้างโอกาสมากกว่าเล่นในตำแหน่งเดิมที่คุณค่าจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ผู้ที่คอยวิ่งตามจึงมักจะช้ากว่าหนึ่งก้าวเสมอ

บทที่ 21 - 27

เกี่ยวกับเทคนิคการจับกิน (เทะซึจิ)

การกระทบกระทั่งมักเกิดในช่วยกลางเกม จึงต้องระวังที่จะถูกลดลมหายใจจากการโยนหมากให้กิน เรื่องแรกที่ควรรู้คือ “ขั้นบันได” กระทั่งมีสุภาษิตว่า ไม่รู้จักขั้นบันไดอย่าเล่นหมากล้อม และเทคนิคอื่น ๆ “อาตาริสองทาง” “ตาข่าย” “ศอกกลับ” โยนให้กินแล้วกินกลับทันที “หมากรัดตัว” “การไล่จับกิน” โจทย์ที่ยากมากขึ้นกว่านี้ก็เพียงเกิดจากการนำเอาพื้นฐานเหล่านี้มารวมกันในข้อเดียว

Hane at the Head of Two Stones
บทที่ 28 - 31

เกี่ยวกับหมากดีหมากไม่ดี, รูปร่างหมาก และหมากสำคัญ

สุภาษิตหมากล้อมกล่าวว่า "จงกดหัวหมากสองหมาก" เพื่อลดลมหายใจ ดังนั้นเมื่อมีการปะทะกันลมหายใจที่น้อยกว่า 5 ลม ควรระมัดระวังให้ดี ส่วนรูปร่างหมากที่ดีควรมีความแข็งแรงไม่ถูกกดหัวหมากสองหมากและ/หรือสร้างห้องได้ง่ายเพื่อให้ได้มือนำไปเล่นในพื้นที่อื่นได้ก่อน ส่วนการช่วยหมากสำคัญจะทำให้รู้จักการแลกเปลี่ยน

เฉลยแบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัดหนังสือหมากล้อม "ปฐมบทแห่งการเริ่มต้น ทดสอบระดับฝีมือ 12 - 8 คิว"

ทดสอบฝีมือหมากล้อม

โจทย์ทั้งหมดกว่า 700 ข้อ อยู่ในระดับ 25 - 6 คิว ใช้เพื่อทดสอบก่อนการสอบวัดระดับฝีมือหมากล้อม

ระดับคะแนน ระดับฝีมือ
50 - 70 % 12 - 10 คิว
70 - 80 % 10 - 8 คิว
80 - 90 % 8 - 6 คิว

เมื่อเป็นโจทย์จึงรู้ว่าควรทำอะไรตั้งใจใช้เวลาคิดหาคำตอบ ในการเล่นหมากล้อมก็เช่นกันควรคิดว่าทุกตาเดินคือการแก้โจทย์ จงมองภาพรวมภาพย่อยเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์

มีสุภาษิตหนึ่งกล่าวไว้ว่า “เล่นช้าชนะช้า เล่นเร็วแพ้เร็ว”

แบบฝึกหัดทดสอบระดับฝีมือ

1

อัพเดทครั้งสุดท้าย 14/07/2565